NTU Fan Club
บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

12. มุมมอง Bottom up กับ Top down กับทุนมนุษย์ (Human Capital) ในองค์กร


ในการทำงานในองค์กรใด ๆ ก็ต้องมีระดับชั้น (Hierarchies) ในตำแหน่งชั้นต่าง ๆ ที่
เรามักจะได้เห็นมุมมองจากผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinates) ที่มองหัวหน้าเสมือนจากล่างขึ้นบน (Bottom up) เช่น อยากเห็นทิศทาง วิสัยทัศน์ การสอนงาน การวิเคราะห์แก้ปัญหางานให้ หรือ หัวหน้าเองก็มองจากบนลงล่าง (Top down) ที่คาดหวัง เช่น พร้อมในการทำงาน ตรงต่อเวลาและระเบียบวินัย เร็วในการนำเสนองานและหากมีปัญหาก็พร้อมเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้ตัดสินใจได้ทันท่วงที เป็นต้น
อย่างไรก็ตามพื้นฐานของคนเรามี ทัศนคติ (Attitude) การเรียนรู้ (Learning) และ ประสบการณ์ (Experiences) ที่ต่างกัน ดังนั้นไม่ว่าคนนั้น ๆ จะสวมหมวกเป็หน้า หรือ ลูกน้อง ของใครบางคน ก็ย่อมมีความต่างกัน และเรียกว่าเป็น ทรัพย์สินเฉพาะตน (Individual Asset) และอาจจะมีประโยชน์ต่อองค์กรมากหรือน้อยก็ได้ แตกต่างเฉพาะตน
ดังนั้น นอกเหนือจาก เงินทุน ระบบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมก็ตาม ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้แ็นหัวใจขับเคลื่อนก็คือ คน นี่เอง ที่เป็นที่ยอมรับโดยกว้างเรียกได้ว่าเป็น ทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งหมายถึง หนึ่งในต้นทุนที่สำคัญขององค์กรนั่นเอง
    บุคลากรจะมีประโยชน์ 3 ด้านของทุนมนุษย์ให้กับองค์กร
    1) ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)
ที่เปรียบเสมือน ทุนในตนเอง ให้กับองค์กร ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ ในด้านต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง (Job Content) หรือ ความรอบรู้เรื่องต่าง ๆ สัมพันธ์กับงาน (Job Context)
-มุมมอง Bottom up อยากเห็นหัวหน้า ที่มีความเฉลียวฉลาด มีวิสัยทัศน์ สามารถมีความรู้ที่ถ่ายทอดให้ทุกคนมีศักยภาพสูงขึ้นได้
-มุมมอง Top down ก็คาดหวังทีม ที่พร้อมเรียนรู้ พัฒนาตนตามบริบทของเนื้องานและสิ่งที่องค์กรต้องการเดินไป
    2) ทุนทางสังคม (Social Capital)
ซึ่งหมายถึง เครือข่าย ที่คนนั้นมีความสัมพันธ์ กับคนในสังคมโดยรอบ ทั้งที่เกี่ยวกับงาน และ วงกว้างที่สามารถนำมาต่อยอดเชื่อมกับงานได้
-มุมมอง Bottom up อยากเห็นหัวหน้าที่มีเครือข่ายกว้างไกล สามารถส่งเสริมช่วยเหลือให้หน่วยงานตน/ องค์กร เชื่อมสัมพันธ์ให้งานราบรื่น ก้าวหน้า กับส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกองค์กรได้ดี
-มุมมอง Top down ที่คาดหวังให้ทีมสามารถทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน สามารถเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในแนวดิ่ง (Vertical Relation) แนวนอน (Horizontal Relation) หรือ ทแยงมุม (Diagonal) ในองค์กร และรวมถึงนอกองค์กรบางส่วนได้ดี
    3) ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital)
ที่เป็นทุนเกี่ยวกับ การจัดการอารมณ์ (Emotional Management) ที่จะแสดงออกถึง การจัดการในอารมณ์ ความนิ่ง ความมั่นคงทางใจ การอดกลั้น การยืดหยุ่นยอมรับอารมณ์คนรอบข้าง และ การจัดการสิ่งที่ท้าทายความรู้สึกนึกคิดได้
-มุมมอง Bottom up ที่เห็นภาวะผู้นำ (Leadership) ที่พร้อมนำ นิ่ง และท้าทายต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบอารมณ์ และพร้อมเป็นที่ปรึกษาได้
-มุมมอง Top down ที่คาดหวังทีมที่มีจิตใจที่พร้อมทำงานด้วยเหตุผลมากกว่าอารมณ์
นอกเหนือจากตัวตั้งในการ นำคน เข้าสู่องค์กรโดย การจัดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management; HRM) ที่หมายถึง
- การวางแผนและกลยุทธ์กำลังคน (Planning & Strategy Workforce)
- การสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้ง (Recruitment, Selection, and Placement)
- การจัดการระบบเงินเดือนและสวัสดิการ (Payroll & Welfare Management)
- การประเมินผลงาน (Performance Appraisal)
1) การพัฒนาความรู้ (Knowledge)
2) การพัฒนาทักษะคน (People)
3) การพัฒนากระบวนการของงาน (Process)
4) การพัฒนาแนวคิดร่วมแรงร่วมใจ (Collaboration)
ซึ่งการพัฒนา 4 ด้านนี้ สามารถทำผ่านรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสัมมนา การฝึกปฏิบัติ การซักซ้อมร่วมกัน การทำกรณีศึกษา การวิเคราะห์จากตัวอย่าง การทดลองในการเสมือนจริง การวิจัยร่วมกัน การใช้เอกสารและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการพัฒนา เป็นต้น และสามารถดำเนินการได้ทั้งภายในองค์กร หรือภายนอกองค์กร ทั้งใช้ผู้ดำเนินรายการโดยคนใน หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ/ ความรู้ จากภายนอกด้วยได้
วันนี้ท่านอยู่ในองค์กรที่ Bottom up และ Top down ที่มองและให้ความสําคัญกับทุนมนุษย์มากน้อยเพียงใด และมีระบบ HRD ที่ตอบโจทย์เรื่องนี้หรือไม่?
   วันนี้ 02-02-2020 ฝากพิจารณา เพื่อวิเคราะห์ทุนมนุษย์ของตนเองและองค์กรที่ท่านอยู่ว่าเป็นเช่นใด
ด้วยความปรารถนาดี
ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
แลกเปลี่ยนกัน
Fan of Nation University